นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

สำนักงานสภามหาวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ต่อไปนี้จะเรียกว่า “เรา”) ตระหนักดีว่าข้อมูลส่วนบุคคลมีความสำคัญอย่างยิ่ง ดังนั้นเราจึงได้จัดทำนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลสำหรับนิสิต บุคลากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บุคคลภายนอก และ ผู้ใช้งาน (ต่อไปนี้จะเรียกรวมถึงบุคคลเหล่านี้ว่า “ผู้ใช้”) เว็บไซต์ แพลตฟอร์มออนไลน์ และ ช่องทางสื่อสังคมออนไลน์อื่น ๆ ของสำนักงานสภามหาวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หรือ ของหน่วยงานอื่น ๆ ของสำนักงานสภามหาวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่มีส่วนรับผิดชอบบริหารจัดการ (ต่อไปนี้จะเรียกว่า “สื่อออนไลน์ของเรา”) ดังรายละเอียดต่อไปนี้

1. ขอบเขตและวัตถุประสงค์ของนโยบายนี้

เอกสารนี้เป็นนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลสำหรับผู้ใช้สื่อออนไลน์ของเรา โดยมีสำนักงานสภามหาวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ซึ่งจะได้อธิบายว่า สำนักงานสภามหาวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เก็บรวบรวมและใช้ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้งานตามขอบเขตและวัตถุประสงค์ของการประมวลผลบนสื่อออนไลน์ของเรา

รายละเอียดการติดต่อผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล

สำนักงานสภามหาวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ที่อยู่ 254 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
โทรศัพท์ 0 2218 3305, 0 2218 3309
อีเมล council@chula.ac.th

นโยบายนี้ครอบคลุม นิสิต บุคลากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บุคคลภายนอก และ ผู้ใช้งาน สำหรับกิจกรรมการประมวลผลบนสื่อออนไลน์ของเรา

  • “นิสิต” ได้แก่ นิสิตหลักสูตรปริญญาบัณฑิต หลักสูตรบัณฑิตศึกษา การศึกษาต่อเนื่อง การฝึกอบรม และหลักสูตรอื่นๆ ของหน่วยงานของจุฬาลงกณณ์มหาวิทยาลัย รวมถึงนิสิตแลกเปลี่ยนจากมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ ที่มีข้อมูลเผยแพร่บนเว็บไซต์
  • “บุคลากร” ได้แก่ อาจารย์ บุคลากร และ เจ้าหน้าที่ ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตามที่มีข้อมูลเผยแพร่บนเว็บไซต์
  • “บุคคลภายนอก” ได้แก่ บุคคลอื่น ๆ ที่ไม่ใช่นิสิต บุคลากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่มีข้อมูลเผยแพร่บนเว็บไซต์
  • “ผู้ใช้งาน” ได้แก่ บุคคลใดที่เข้าถึง เว็บไซต์ แพลตฟอร์มออนไลน์ และ ช่องทางสื่อสังคมออนไลน์อื่นๆ ของสำนักงานสภามหาวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หรือของหน่วยงานของสำนักงานสภามหาวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่มีส่วนรับผิดชอบบริหารจัดการ

ตามนโยบายนี้จะใช้คำว่า

  • “การประมวลผล” หมายถึง การดำเนินการใด ๆ ของสำนักงานสภามหาวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ต่อข้อมูลส่วนบุคคลของ นิสิต บุคลากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บุคคลภายนอก และ ผู้ใช้งาน รวมถึง การเก็บรวมรวม, การใช้, การจัดเก็บ, การเปิดเผย และการลบข้อมูลส่วนบุคคล
  • “ฐานการประมวลผล” หมายถึง เหตุผลความจำเป็นในการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลตามมาตรา 24 และ 26 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562

2. เราประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลใดบ้าง?

เราประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลดังต่อไปนี้

  • ข้อมูลอัตลักษณ์ เช่น ชื่อ-นามสกุล ตำแหน่งทางวิชาการ รูปภาพบุคคล เลขประจำตัวนิสิต เลขประจำตัวประชาชน ลายมือชื่อ เลขที่หนังสือเดินทาง วิดีโอ/รูปภาพ เป็นต้น
  • ข้อมูลที่อยู่และที่ติดต่อ เช่น  ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ อีเมล Line ID หน่วยงานที่สังกัด เป็นต้น
  • ข้อมูลประวัติการศึกษา เช่น คณะ/ภาควิชา ผลงานทางวิชาการ วุฒิการศึกษา เป็นต้น
  • ข้อมูลอื่น ๆ เช่น อาชีพ ประเภทข้อมูลที่ให้ความสนใจ ภาษาที่ต้องการรับข่าวสาร เป็นต้น
  • ข้อมูลทางเทคนิค เช่น IP Address MAC Address Cookie ID Activity Log ข้อมูลอุปกรณ์ที่ใช้งาน ข้อมูลเบราว์เซอร์ ข้อมูลเครือข่าย ข้อมูลการเข้าถึง ข้อมูลการเข้าสู่ระบบ  ระยะเวลาการใช้งาน ประวัติการค้นหา คำที่ค้นหาข้อมูล เป็นต้น

3. เราเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลอย่างไร?

โดยทั่วไปแล้วเราจัดเก็บข้อมูลที่ได้รับจากผู้ใช้ โดยตรง ผ่านกระบวนการการกรอกข้อมูลลงในแบบฟอร์มต่างๆ ทางช่องทางออนไลน์ เช่น

  • จากการสมัครรับข่าวสาร
  • จากการสมัครร่วมกิจกรรมต่าง ๆ
  • จากการบริจาค
  • จากการติดต่อสอบถาม ร้องเรียน แนะนำ ติชม ผ่านช่องทางออนไลน์ของเรา
  • จากบันทึก
  • จากการติดต่อด้วยช่องทางอื่น ๆ ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • รวมถึงการเก็บข้อมูลทางเทคนิคจากการเข้าถึงสื่อออนไลน์ของเรา

อย่างไรก็ดี เราอาจมีการเก็บรวบรวมข้อมูลจากแหล่งอื่นโดยมิได้เก็บรวบรวมจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลโดยตรง (Indirect Collection) เช่น

  • จากระบบงาน เช่น ระบบสืบค้นห้องสมุด (www.car.chula.ac.th)
  • จากหน่วยงานของเจ้าของข้อมูล
  • และ หน่วยงานเจ้าของกิจกรรมประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล เป็นต้น

4. เราใช้ข้อมูลส่วนบุคคลอย่างไร?

เราใช้ข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อการประมวลผลในกิจกรรมตามวัตถุประสงค์ของสื่อออนไลน์ของเรา ซึ่งสรุปได้ดังนี้

กลุ่มกิจกรรมกลุ่มข้อมูลส่วนบุคคลฐานการประมวลผล
การสื่อสาร โฆษณา ประชาสัมพันธ์ข้อมูลอัตลักษณ์ข้อมูลที่อยู่และที่ติดต่อข้อมูลเกี่ยวกับการศึกษาฐานความยินยอมฐานความจำเป็นโดยเป็นผลประโยชน์โดยชอบธรรมขององค์กร
เพื่อเป็นช่องทางการติดต่อสื่อสารข้อมูลอัตลักษณ์ข้อมูลที่อยู่และที่ติดต่อฐานความยินยอมฐานความจำเป็นโดยเป็นผลประโยชน์โดยชอบธรรมขององค์กร
การบริหารจัดการภายในข้อมูลอัตลักษณ์ข้อมูลที่อยู่และที่ติดต่อฐานความจำเป็นโดยเป็นผลประโยชน์โดยชอบธรรมขององค์กร
การสมัครฯการติดต่อสอบถาม ร้องเรียน แนะนำ ติชมข้อมูลอัตลักษณ์ข้อมูลที่อยู่และที่ติดต่อฐานความยินยอม
ปรับปรุงและพัฒนาประสิทธิภาพการให้บริการ หรือประสบการณ์การใช้งานข้อมูลทางเทคนิคฐานความยินยอม

เราจะประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของตามวัตถุประสงค์ที่ได้แจ้งไว้เท่านั้น ในบางกรณีอาจพิจารณาว่าสามารถประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของท่านด้วยเหตุผลอื่นที่เกี่ยวข้องและไม่ขัด หรือนอกเหนือไปจากวัตถุประสงค์เดิม แต่ในกรณีที่เราจำเป็นต้องประมวลผลข้อมูลด้วยวัตถุประสงค์อื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับวัตถุประสงค์เดิม เราจะขอความยินยอมใหม่เพื่อการใช้ข้อมูลตามวัตถุประสงค์ใหม่นั้น

5. การใช้ข้อมูลส่วนบุคคลร่วมกันกับหน่วยงานภายนอก

เราอาจมีความจำเป็นต้องส่งข้อมูลไปยังหน่วยงานภายนอกเพื่อประมวลผลข้อมูลตามหน้าที่ความรับผิดชอบ ตามสัญญา หรือตามกฎหมาย

ในกรณีที่ใช้หรือส่งข้อมูลส่วนบุคคลไปยังหน่วยงานภายนอก เราจะดำเนินการเท่าที่จำเป็นโดยใช้หรือส่งข้อมูลให้น้อยที่สุด และอาจพิจารณาใช้วิธีจัดทำข้อมูลนิรนาม (Anonymisation) การแฝงข้อมูล (Pseudonymisation) การเข้ารหัสข้อมูล (Encryption) การสำรองข้อมูล (Data Backup) รวมถึงการบันทึกการเข้าใช้งานระบบหรือเข้าถึงข้อมูล (Logging) และการกำหนดผู้มีสิทธิเข้าถึงข้อมูล (Access Control Lists) เพื่อความปลอดภัยของข้อมูล เราจะต้องจัดให้มีมาตรการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่เหมาะสมตามนโยบายนี้ และเราจะไม่อนุญาตให้บุคคลภายนอกดังกล่าวใช้ข้อมูลเพื่อวัตถุประสงค์อื่นนอกจากที่เรากำหนด

6. การส่งหรือโอนข้อมูลไปยังต่างประเทศ

ในบางกรณี เราอาจจำเป็นต้องส่งข้อมูลของนิสิต บุคลากร บุคคลภายนอก และ ผู้ใช้งาน ไปยังต่างประเทศ

กรณีเช่นนี้เราจะส่งข้อมูลไปยังต่างประเทศก็ต่อเมื่อเป็นไปตามเงื่อนไขอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้

  • ประเทศปลายทางที่รับข้อมูลได้รับการวินิจฉัยจากคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลว่ามีการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่เพียงพอ
  • หน่วยงานต่างประเทศที่รับข้อมูลอยู่ภายใต้นโยบายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่ได้รับการตรวจสอบและรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
  • หน่วยงานต่างประเทศได้จัดให้มีมาตรการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่เหมาะสมสามารถบังคับตามสิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลได้ รวมทั้งมีมาตรการเยียวยาทางกฎหมายที่มีประสิทธิภาพตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลประกาศกำหนด เช่น ข้อสัญญามาตรฐาน ประมวลวิธีปฏิบัติ มาตรฐานที่ได้รับการรับรอง เป็นต้น
  • เป็นสิ่งจำเป็นเพื่อการใช้สิทธิตามกฎหมาย
  • ได้รับความยินยอมจากท่านโดยท่านได้รับทราบถึงมาตรฐานการคุ้มครองส่วนบุคคลที่ไม่เพียงพอของประเทศปลายทางหรือองค์การระหว่างประเทศที่รับข้อมูลส่วนบุคคลแล้ว
  • เป็นการจำเป็นเพื่อการปฏิบัติตามสัญญาซึ่งท่านเป็นคู่สัญญาหรือเพื่อใช้ในการดำเนินการตามคำขอของท่านก่อนเข้าทำสัญญานั้น
  • เป็นการกระทำตามสัญญาระหว่างเรากับบุคคลหรือนิติบุคคลอื่นเพื่อประโยชน์ของท่าน
  • เพื่อป้องกันหรือระงับอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย หรือสุขภาพของท่าน หรือบุคคลอื่น เมื่อท่านไม่สามารถให้ความยินยอมในขณะนั้นได้
  • เป็นการจำเป็นเพื่อการดำเนินภารกิจเพื่อประโยชน์สาธารณะที่สำคัญ

7. คุกกี้

คุกกี้คืออะไร?

คุกกี้เป็นไฟล์เล็ก ๆ ที่จัดเก็บข้อมูลบนคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ หรืออุปกรณ์อื่น ๆ ของคุณ โดยจะทำให้บุคคลที่ใส่คุกกี้บนอุปกรณ์ของคุณจำคุณได้ในเว็บไซต์

เราใช้คุกกี้อย่างไร?

คุกกี้ช่วยให้เราและบุคคลที่สามเข้าใจว่าส่วนใดของบริการเป็นที่นิยมมากที่สุด เนื่องจากคุกกี้จะช่วยให้เราเห็นว่าผู้เข้าชมกำลังเข้าถึงหน้าใดและคุณสมบัติใด และผู้เข้าชมใช้เวลาในหน้านั้นนานเท่าใด การศึกษาข้อมูลประเภทนี้ช่วยให้เราสามารถปรับเปลี่ยนบริการและให้ประสบการณ์การใช้งานที่ดีขึ้นแก่คุณได้เมื่อคุณใช้เว็บเบราว์เซอร์เพื่อเข้าใช้บริการ คุณสามารถปรับแต่งเบราว์เซอร์เพื่อยอมรับคุกกี้ทั้งหมด ปฏิเสธคุกกี้ทั้งหมด หรือแจ้งเตือนให้คุณทราบเมื่อมีการส่งคุกกี้ เบราว์เซอร์แต่ละเบราว์เซอร์จะแตกต่างกันไป ดังนั้นกรุณาตรวจสอบที่เมนู “ความช่วยเหลือ” ในเบราว์เซอร์ของคุณเพื่อเรียนรู้วิธีการเปลี่ยนแปลงการใช้คุกกี้ของคุณ ระบบปฏิบัติการบนอุปกรณ์ของคุณอาจมีการควบคุมเพิ่มเติมสำหรับคุกกี้ โปรดทราบว่าบริการบางอย่างอาจออกแบบมาเพื่อทำงานโดยใช้คุกกี้และการปิดใช้งานคุกกี้อาจจะส่งผลต่อความสามารถของคุณในการใช้บริการเหล่านั้น หรือบางส่วนของบริการได้

ประเภทของคุกกี้ที่เราใช้

เว็บไซต์ของเราประกอบไปด้วยคุกกี้ดังต่อไปนี้

คุกกี้ประกอบการทำงานของแพลตฟอร์ม (Functionality Cookies):

ใช้เพื่อการจดจำสิ่งที่ท่านเลือกหรือตั้งค่าบนแพลตฟอร์ม รวมไปถึงการนำเสนอข้อมูลที่ตรงความต้องการเฉพาะบุคคล เช่น ชื่อบัญชีผู้ใช้ ภาษา

คุกกี้ทางเทคนิค (Strictly Necessary Cookies):

เป็นประเภทคุกกี้ที่มีความจำเป็นต่อการใช้งานแพลตฟอร์ม เพื่อให้ท่านเข้าถึงข้อมูลได้อย่างทั่วถึงและปลอดภัย

คุกกี้เพื่อวัดผลการทำงานของแพลตฟอร์ม (Performance Cookies):

ใช้ในการจัดเก็บข้อมูลของผู้เข้าชมแพลตฟอร์มแบบไม่ระบุตัวตน และนำมาวิเคราะห์จำนวนและพฤติกรรมของผู้เข้าชม เพื่อปรับปรุงแพลตฟอร์มให้มีประสิทธิภาพและตรงกับความต้องการของผู้ใช้มากขึ้น

คุกกี้บุคคลที่สาม (Third-party Cookies):

คุกกี้ชนิดนี้จะถูกกำหนดใช้โดยผู้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม อาทิ Google Analytics

การตั้งค่าคุกกี้

ในกรณีที่คุณไม่ประสงค์ให้มีการเก็บรวบรวมข้อมูลของผู้ใช้บริการผ่านทางคุกกี้ ซอฟต์แวร์ และเครื่องมือการตรวจวัด คุณสามารถลบหรือปฏิเสธคุกกี้ หรือซอฟต์แวร์การตรวจวัดบางรายการผ่านทางเบราว์เซอร์ได้ โดยหากคุณนำคุกกี้ออก คุณจะออกจากระบบเว็บไซต์ และระบบอาจลบค่ากำหนดที่บันทึกไว้ของคุณ ด้วยวิธีการดังนี้

  • การตั้งค่าคุกกี้ใน Chrome
  • การตั้งค่าคุกกี้ใน Safari และ iOS
  • การตั้งค่าคุกกี้ใน Internet Explorer
  • การตั้งค่าคุกกี้ใน Firefox

8. การรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคล

เราได้จัดให้มีมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้ บุคคลภายนอกที่เป็นผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลให้เราจะต้องดำเนินการตามคำสั่งและตกลงที่จะรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคลเท่านั้น

9. ระยะเวลาในการจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคล

เราจะจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลตลอดระยะเวลาที่จำเป็นในการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของสำนักงานสภามหาวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รวมถึงงานต่าง ๆ ที่จำเป็นเกี่ยวกับด้านกฎหมาย บัญชี และการติดตามตรวจสอบต่าง ๆ

10. สิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล

ท่านมีสิทธิในข้อมูลส่วนบุคคลดังต่อไปนี้

  • สิทธิในการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล (Right of Access)
  • สิทธิในการโอนข้อมูลส่วนบุคคล (Right to Data Portability)
  • สิทธิในการคัดค้านการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล (Right to Object) โดยท่านสามารถคัดค้านในกรณีที่เราประมวลผลข้อมูลของท่าน
    • ตามภารกิจสาธารณะ (Public Task) หรือตามประโยชน์โดยชอบด้วยกฎหมาย (Legitimate Interest)
    • เพื่อวัตถุประสงค์เกี่ยวกับการตลาดแบบตรง
    • เพื่อวัตถุประสงค์เกี่ยวกับการศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์ ประวัติศาสตร์ หรือสถิติ เว้นแต่เป็นการจำเป็นเพื่อการดำเนินภารกิจเพื่อประโยชน์สาธารณะของเรา
  • สิทธิในการลบข้อมูลส่วนบุคคล (Right to Erasure) โดยท่านสามารถขอให้ลบข้อมูล หรือทำลาย หรือทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวท่านได้ ในกรณีดังต่อไปนี้
    • เมื่อหมดความจำเป็นในการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล
    • เมื่อท่านถอนความยินยอมในการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลและเราไม่มีเหตุผลตามกฎหมายที่จะประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลนั้นได้ต่อไป
    • เมื่อท่านคัดค้านการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของท่านแล้ว
    • เมื่อข้อมูลส่วนบุคคลได้ถูกประมวลผลโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
  • สิทธิในการระงับการใช้ข้อมูลส่วนบุคคล (Right to Restrict Processing) โดยท่านสามารถขอให้ระงับการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลของท่านได้ ในกรณีดังต่อไปนี้
    • เมื่ออยู่ในระหว่างการตรวจสอบตามที่ท่านขอให้แก้ไขข้อมูลส่วนบุคคล
    • เมื่อเป็นข้อมูลส่วนบุคคลที่ต้องลบหรือทำลาย แต่ท่านขอให้ระงับการใช้แทน
    • เมื่อข้อมูลส่วนบุคคลหมดความจำเป็นในการเก็บรักษาไว้ตามวัตถุประสงค์ แต่ท่านมีความจำเป็นต้องขอให้เก็บรักษาไว้เพื่อใช้ในการก่อตั้งสิทธิเรียกร้องตามกฎหมาย การปฏิบัติตามหรือการใช้สิทธิเรียกร้องตามกฎหมาย หรือการยกขึ้นต่อสู้สิทธิเรียกร้องตามกฎหมาย
    • เมื่ออยู่ในระหว่างการพิสูจน์ หรือตรวจสอบ ตามคำขอใช้สิทธิในการคัดค้านของท่าน
  • สิทธิในการแก้ไขข้อมูลส่วนบุคคล (Right to Rectification) โดยท่านสามารถขอแก้ไขข้อมูลของท่านให้ถูกต้อง สมบูรณ์ และเป็นปัจจุบันได้ หากท่านพบว่าข้อมูลของท่านไม่ถูกต้อง สมบูรณ์ และเป็นปัจจุบัน เราไม่สามารถตรวจสอบและแก้ไขข้อมูลดังกล่าวได้ด้วยตนเองในบางกรณีตามสภาพของการดำเนินการ เราอาจไม่สามารถดำเนินการได้ตามที่ท่านขอได้ เช่น มีความจำเป็นต้องดำเนินการตามหน้าที่ตามสัญญาหรือกฎหมาย เป็นต้น อย่างไรก็ดีในกรณีที่ท่านได้ให้ความยินยอมในการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลเอาไว้ ท่านสามารถถอนความยินยอมนั้นเมื่อใดก็ได้ด้วยการติดต่อไปยังส่วนงานที่เกี่ยวข้อง โดยเราจะยุติการประมวลผลข้อมูลดังกล่าวโดยเร็วที่สุด แต่การถอนความยินยอมนั้นจะไม่มีผลเป็นการยกเลิกเพิกถอนการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลที่ได้ดำเนินการไปแล้ว ขอให้ท่านรับทราบว่าเราจะบันทึกรายการต่าง ๆ ที่ได้ดำเนินการเกี่ยวกับคำร้องของท่านเอาไว้เพื่อใช้ในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น หากมีข้อสงสัยในรายละเอียดทางปฏิบัติของการดำเนินการเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (ท่านอาจศึกษาได้จากแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (TDPG3.0) ได้ที่ https://www.law.chula.ac.th/event/9705/)ในกรณีที่ท่านมีประสงค์จะใช้สิทธิดังกล่าวข้างต้น หรือมีข้อร้องเรียนเกี่ยวกับการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล โปรดติดต่อที่

สำนักงานสภามหาวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ที่อยู่ 254 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
โทรศัพท์ 0 2218 3305, 0 2218 3309
อีเมล council@chula.ac.th

เราจะรีบดำเนินการตามคำร้องของท่านโดยเร็วและสอดคล้องกับที่กฎหมายกำหนด อย่างไรก็ดีท่านมีสิทธิร้องเรียนเกี่ยวกับการไม่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลตามกฎหมายได้ที่สำนักงานคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

11. การทบทวนและปรับปรุงนโยบายนี้

เอกสารนี้เป็นนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล นิสิต บุคลากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บุคคลภายนอก และ ผู้ใช้ เว็บไซต์ แพลตฟอร์มออนไลน์ และ ช่องทางสื่อสังคมออนไลน์อื่นๆ ของสำนักงานสภามหาวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หรือของหน่วยงานของสำนักงานสภามหาวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่มีส่วนรับผิดชอบบริหารจัดการ ปรับปรุงล่าสุดเมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2567

12. เอกสารดาวน์โหลด

เราขอสงวนสิทธิในการทบทวนและปรับปรุงนโยบายนี้ตามที่เห็นสมควร ดังนั้นโปรดตรวจสอบนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลอยู่เป็นประจำ การเปลี่ยนแปลงใดๆ จะมีผลทันทีเมื่อเราเผยแพร่นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่แก้ไขดังกล่าวลงในเว็บไซต์ของเรา