บทบาทหน้าที่ของสภามหาวิทยาลัย

ภายใต้พระราชบัญญัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2551

พระราชบัญญัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2551

พระราชบัญญัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2551 ประกอบด้วย 8 หมวด 86 มาตรา มีผลบังคับใช้เมื่อ 7 ก.พ. 2551

อารัมภบท
4 มาตรา
ม. 1-6
หมวด 1
บททั่วไป
12 มาตรา
ม. 7-18
หมวด 2
การดำเนินการ
23 มาตรา
ม. 19-41
หมวด 3
การประกันคุณภาพ
5 มาตรา
ม. 42-46
หมวด 4
การบัญชี และการตรวจสอบ
6 มาตรา
ม. 47-52
หมวด 5
การกำกับ และการดูแล
2 มาตรา
ม. 52-54
หมวด 6
ตำแหน่งทางวิชาการ
5 มาตรา
ม. 55-59
หมวด 7
ปริญญา และเครื่องหมายวิทยฐานะ
9 มาตรา
ม. 60-68
หมวด 8
บทกำหนดโทษ
2 มาตรา
ม. 69-70
บทเฉพาะกาล
16 มาตรา
ม. 71-86

สรุปสาระสำคัญพระราชบัญญัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2551

  • ให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีฐานะเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ
  • ไม่เป็นส่วนราชการ แต่เป็นหน่วยงานในกำกับของรัฐ (มาตรา 5)
  • รับงบประมาณแผ่นดิน แต่มีอิสระ และความคล่องตัวในการบริหารจัดการมากขึ้น โดยเฉพาะการบริหารงานบุคคล การเงิน การคลัง การพัสดุ และการจัดโครงสร้างองค์กร ตามข้อบังคับ ระเบียบ ประกาศ ที่สภามหาวิทยาลัยกำหนด ภายใต้กรอบกฎเกณฑ์ของรัฐและหลักธรรมาภิบาล มีความโปร่งใส ตรวจสอบได้
  • ด้านวิชาการยังต้องอิงกฎเกณฑ์ของ ก.ก.อ. (หลักสูตร) และ ก.พ.อ.(ตำแหน่งทางวิชาการ)
  • ต้องรายงานผลการดำเนินงานต่อรัฐมนตรี และมีการตรวจสอบจากหน่วยงานภายนอก
  • กิจการของมหาวิทยาลัยไม่อยู่ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานและกฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์
  • พนักงานมหาวิทยาลัยต้องได้รับการคุ้มครองและประโยชน์ตอบแทนไม่น้อยกว่าที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน

เอกสารดาวน์โหลด

วัตถุประสงค์ (ตามมาตรา 7)

  • บุกเบิก แสวงหา และเป็นคลังความรู้
  • ให้การศึกษา ส่งเสริม ประยุกต์ และพัฒนาวิชาการ และวิชาชีพชั้นสูง
  • สร้างบัณฑิต
  • วิจัย
  • เป็นแหล่งรวมสติปัญญา และบริการวิชาการต่อสังคม
  • สืบสาน ทะนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม

ยึดหลัก 7 ประการเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ (ตามมาตรา 8)

  1. ความเสมอภาคในโอกาสทางการศึกษา
  2. ความมีคุณธรรมควบคู่ไปกับความเป็นเลิศทางวิชาการและเสรีภาพทางวิชาการ
  3. มาตรฐานและคุณภาพทางวิชาการอันเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ
  4. การนําความรู้สู่สังคม เพื่อเป็นการเตือนสติและแนวทางแก้ปัญหาสังคม
  5. ความรับผิดชอบต่อรัฐและสังคมทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่น
  6. ประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการบริหารที่โปร่งใสและตรวจสอบได้
  7. การบริหารงานโดยบุคลากรมีส่วนร่วม

มาตรา 19 ให้มีสภามหาวิทยาลัยประกอบด้วย

องค์ประกอบกรรมการสภามหาวิทยาลัย
จำนวน
วาระ (ปี)
1
นายกสภามหาวิทยาลัย
1
3
2
กรรมการสภาฯ ผู้ทรงคุณวุฒิ( บุคคลภายนอก) 
15
3
3
อธิการบดี
1
4
4
ประธานสภาคณาจารย์
1
ตามวาระปธ.สภาฯ
5
นายกสมาคมนิสิตเก่าจุฬาฯ
1
ตามวาระนายก สนจ.
6
กรรมการสภาฯซึ่งเลือกจากผู้ปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัยที่ไม่ใช่คณาจารย์ ตำแหน่งไม่ต่ำกว่าหัวหน้าส่วนงานหรือเทียบเท่า
1
2
7
กรรมการสภาฯ ซึ่งเลือกตั้งจากคณาจารย์ประจำ
5
2
8
กรรมการสภาฯ ซึ่งเลือกตั้งจากหัวหน้าส่วนงานหรือเทียบเท่า
5
2
รวม
30

หมายเหตุ

  1. นายกสภาฯ และกรรมการสภาฯ ผู้ทรงคุณวุฒิ มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 3 ปี (เกิน 2 วาระไม่ได้)
  2. กรรมการสภาฯ ผู้ทรงคุณวุฒิ ต้องสรรหาจากรายชื่อที่ กกอ.เสนอ 1 คน
  3. ให้สภาฯ แต่งตั้งรองอธิการบดี 1 คนเป็นเลขานุการสภาฯ อาจมีผู้ช่วยเลขาฯ ด้วยก็ได้

ที่มาของกรรมการสภามหาวิทยาลัย

องค์ประกอบกรรมการสภามหาวิทยาลัย
พรบ.จุฬาฯ 2551
ข้อบังคับจุฬา
1
นายกสภามหาวิทยาลัย
มาตรา 19 (1)
การสรรหานายกสภามหาวิทยาลัย พ.ศ. 2556
2
กรรมการสภาฯ ผู้ทรงคุณวุฒิ(บุคคลภายนอก)
มาตรา 19 (2) 
การสรรหากรรมการสภาฯผู้ทรงคุณวุฒิ พ.ศ. 2556 และฉบับ 2 พ.ศ. 2558
3
อธิการบดี
มาตรา 19 (3)
การสรรหาอธิการบดี พ.ศ. 2558
4
ประธานสภาคณาจารย์
มาตรา 19 (4)
ข้อบังคับสภาคณาจารย์ พ.ศ. 2562
5
นายกสมาคมนิสิตเก่าจุฬาฯ
มาตรา 19 (4)
ข้อบังคับของสมาคมนิสิตเก่าจุฬาฯ
6
กรรมการสภาฯซึ่งเลือกจากผู้ปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัยที่ไม่ใช่คณาจารย์ ตำแหน่งไม่ต่ำกว่าหัวหน้าส่วนงาน หรือเทียบเท่า
มาตรา 19 (5)
การเลือกตั้งกรรมการสภาฯประเภทหัวหน้าส่วนงานที่มิใช่คณาจารย์ พ.ศ. 2557
7
กรรมการสภาฯซึ่งเลือกตั้งจากคณาจารย์ประจำ
มาตรา 19 (6)
การเลือกตั้งกรรมการสภาฯประเภทคณาจารย์ประจำ พ.ศ. 2551
8
กรรมการสภาฯ ซึ่งเลือกตั้งจากหัวหน้าส่วนงานที่เป็นคณาจารย์ หรือเทียบเท่า
มาตรา 19 (6)
การเลือกตั้งการเลือกตั้งกรรมการสภาฯประเภท หัวหน้าส่วนงาน พ.ศ.2551

การกำกับ และการควบคุมดูแล

รัฐมนตรี

มีอำนาจและหน้าที่กำกับและดูแลโดยทั่วไปซึ่งกิจการโดยทั่วไปของมหาวิทยาลัยให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ในมาตรา 7 และให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลหรือมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวกับมหาวิทยาลัยเป็นการเฉพาะ

สภามหาวิทยาลัย

มีอำนาจและหน้าที่ควบคุมดูแลกิจการทั่วไปของมหาวิทยาลัย โดยอำนาจและหน้าที่เช่นว่านั้นให้รวมถึงอำนาจและหน้าที่ตามที่กำหนดในมาตรา 21 (1) ถึง (18)

การทำหน้าที่เป็นประธานคณะกรรมการต่างๆ ของกรรมการสภาฯผู้ทรงคุณวุฒิ

คณะกรรมการตาม พรบ.จุฬาฯ 2551
ฝ่ายเลขานุการกิจ
มาตรา 23
คณะวุฒยาจารย์
สำนักกิจการวุฒยาจารย์*
มาตรา 25
คณะกรรมการนโยบายวิชาการ
สำนักบริหารวิชาการ
คณะกรรมการตาม ที่สภาฯ แต่งตั้งตามความจำเป็นโดยออกเป็นข้อบังคับ
1
คณะกรรมการตรวจสอบ
สำนักตรวจสอบ*
2
คณะกรรมการนโยบายการเงิน
สำนักบริหารการเงิน การบัญชี และพัสดุ
3
คณะกรรมการนโยบายบุคลากร
สำนักบริหารทรัพยากรมนุษย์
4
คณะกรรมการนโยบายพัฒนานิสิต
สำนักบริหารกิจการนิสิต
5
คณะกรรมการกำกับการบริหารความเสี่ยง
ศูนย์บริหารความเสี่ยง
6
คณะกรรมการติดตามและประเมินผล
ฝ่ายวิเคราะห์ ติดตามและประเมินผล*
7
คณะกรรมการกิจการสภา
ฝ่ายประชุม สรรหาและแต่งตั้ง*
8
คณะกรรมการนโยบายวิจัย และนวัตกรรม
สำนักบริหารวิจัย

อำนาจและหน้าที่ของสภามหาวิทยาลัยตามมาตรา 21 (18 ข้อ)

ก. นโยบาย และแนวทางในการพัฒนา

  • (1) กำหนดเป้าหมาย  วางนโยบาย  และแนวทางในการพัฒนาของมหาวิทยาลัย เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของมหาวิทยาลัย
  • (12) กำหนดนโยบายและวิธีการเกี่ยวกับการจัดหารายได้ จัดหาแหล่งทุนและทรัพยากรอื่น

ข. ข้อบังคับ

  • (2) ออกข้อบังคับ ระเบียบ และประกาศของมหาวิทยาลัย เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติงานของมหาวิทยาลัย และอาจมอบหมายให้ส่วนงานใดในมหาวิทยาลัยเป็นผู้ออกข้อบังคับ ระเบียบ และประกาศสำหรับส่วนงานนั้นเป็นเรื่อง ๆ ไปก็ได้
  • (3) ออกข้อบังคับว่าด้วยการบริหารงานบุคคลของมหาวิทยาลัย
  • (4) ออกข้อบังคับเกี่ยวกับการบริหารการเงิน การพัสดุ และทรัพย์สินของมหาวิทยาลัย

(3) (4) ไม่สามารถมอบหมายให้ส่วนงานออกข้อบังคับ ระเบียบ ประกาศของส่วนงานได้

ค. อนุมัติ

  • (5) อนุมัติการให้ปริญญา อนุปริญญา ประกาศนียบัตร ทั้งของมหาวิทยาลัยและที่มหาวิทยาลัยจัดการศึกษาร่วมกับสถานศึกษาชั้นสูงหรือสถาบันอื่น รวมทั้งอนุมัติการให้ปริญญากิตติมศักดิ์
  • (6) อนุมัติการจัดตั้ง การรวม หรือยุบเลิกส่วนงานของมหาวิทยาลัยตามมาตรา 9 รวมทั้งการแบ่งหน่วยงานภายในของส่วนงานดังกล่าว
  • (7) พิจารณาดำเนินการเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง และพิจารณาถอดถอนนายกสภามหาวิทยาลัย  กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ  อธิการบดี  ศาสตราจารย์  และศาสตราจารย์พิเศษ
  • (8) แต่งตั้งและถอดถอนศาสตราจารย์กิตติคุณ รองศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์พิเศษ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ และผู้ช่วยศาสตราจารย์พิเศษ
  • (9) แต่งตั้งและถอดถอนรองอธิการบดี คณบดี ผู้อำนวยการ และหัวหน้าส่วนงานที่เรียกชื่ออย่างอื่น
  • (11) อนุมัติการรับเข้าสมทบ การจัดการศึกษาร่วม หรือการยกเลิกการสมทบ การยกเลิกการจัดการศึกษาร่วมของสถานศึกษาชั้นสูงหรือสถาบันวิจัยอื่น
  • (13) อนุมัติการกู้ยืมเงินและให้กู้ยืมเงิน และการลงทุนหรือการร่วมลงทุนตามมาตรา 13 (4) วรรคสอง
  • (14) อนุมัติการจัดตั้งหรือร่วมกับบุคคลอื่นในการจัดตั้งองค์กรที่เป็นนิติบุคคล หรือยกเลิกนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามมาตรา 13 (8)
  • (15) อนุมัติการตั้งงบประมาณรายรับและอนุมัติงบประมาณรายจ่ายของมหาวิทยาลัย

ง. การติดตามและประเมินผล

“หน้าที่ควบคุมดูแลกิจการทั่วไปของมหาวิทยาลัย”

  • (10) ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานของอธิการบดี และหัวหน้าส่วนงานต่าง ๆ
  • (16) รับรองรายงานกิจการประจำปีของมหาวิทยาลัย และเสนอรายงานนั้นต่อรัฐมนตรีเพื่อทราบ
  • อธิการบดี และทีมงานวางเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ เป็นแผน 4 ปี และ 1 ปีเสนอสภามหาวิทยาลัยเห็นชอบ (อาจมีแผนระยะยาวประกอบด้วย)
  • ฝ่ายบริหารจัดทำงบประมาณประจำปีตามแผน เสนอคณะกรรมการการเงิน และคณะกรรมการนโยบายการเงินพิจารณากลั่นกรอง แล้วนำเสนอสภามหาวิทยาลัยในภาพใหญ่ เพื่อให้ความเห็นชอบ
  • อธิการบดีกำกับหน่วยงานต่างๆ ประเมินผลการปฏิบัติงาน และความก้าวหน้าเป็นประจำปี แล้วทำการวิเคราะห์เพื่อเสนอกรรมการนโยบายด้านต่างๆเพื่อให้ข้อเสนอแนะ และกลั่นกรอง แล้วจัดทำรายงานประจำปีเสนอสภามหาวิทยาลัยในภาพใหญ่
  • คณะกรรมการตรวจสอบ ดำเนินการเป็นเอกเทศด้วยการสนับสนุนของสำนักตรวจสอบ เสนอรายงานการตรวจสอบให้อธิการบดีทราบและดำเนินการ พร้อมกับเสนอสภามหาวิทยาลัยพิจารณา

จ. การดำเนินงานของสภามหาวิทยาลัย

  • (17) แต่งตั้งคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ หรือบุคคลใดบุคคลหนึ่งเพื่อกระทำการใดๆ อันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของสภามหาวิทยาลัย รวมทั้งมอบอำนาจให้คณะกรรมการ คณะอนุกรรมการหรือบุคคลดังกล่าวทำการแทนแล้วรายงานให้สภามหาวิทยาลัยทราบ ทั้งนี้ ต้องแต่งตั้งผู้แทนสภาคณาจารย์เป็นกรรมการ หรืออนุกรรมการด้วย
  • (18) ปฏิบัติหน้าที่อื่นเกี่ยวกับกิจการของมหาวิทยาลัยที่มิได้ระบุให้เป็นหน้าที่ของผู้ใดโดยเฉพาะ

การปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการสภาฯ แต่ละประเภท

ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก
ผู้แทนผู้บริหาร
ผู้แทนคณาจารย์
ผู้แทนบุคลากร
กำหนดเป้าหมาย นโยบายการพัฒนามหาวิทยาลัย
นำเสนอนโยบาย แผนและแนวทางบริหาร ข้อกฎหมาย
มองภาพกว้างในมุมของคณาจารย์ ทั้งด้านวิชาการ วิจัย กิจการนิสิต เพื่อเป็นประโยชน์สำหรับฝ่ายบริหารที่จะนำไปประกอบการทำนโยบาย
มองภาพกว้างในมุมของบุคลากรที่มิใช่คณาจารย์  เพื่อเป็นประโยชน์สำหรับฝ่ายบริหารที่จะนำไปประกอบการทำนโยบาย
กำกับดูแลมหาวิทยาลัยให้มีธรรมาภิบาลและบริหารงานอย่างมีประสิทธิภาพ
นำนโยบายสภาฯ ไปสู่การปฏิบัติ
ให้ความช่วยเหลือแก้ปัญหา แนะนำแนว ทางสู่เป้าหมาย
นำเสนอผลดำเนินงานต่อสภาฯโดยคำนึงถึงประสิทธิภาพการจัดการศึกษา และวิจัย
บริหารจัดการงบประมาณ
เป็นประธาน /คณะกรรมการ ตามที่สภามหาวิทยาลัยมอบหมาย
เป็นคณะกรรมการ ตามที่สภามหาวิทยาลัยมอบหมาย
เป็นคณะกรรมการ ตามที่สภามหาวิทยาลัยมอบหมาย
เป็นคณะกรรมการ ตามที่สภามหาวิทยาลัยมอบหมาย