พระราชบัญญัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

พ.ร.บ. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2551 มีผลบังคับใช้เมื่อ 7 ก.พ. 2551

พระราชบัญญัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2551 ประกอบด้วย 8 หมวด 86 มาตรา มีผลบังคับใช้เมื่อ 7 ก.พ. 2551

อารัมภบท4 มาตราม.1-6
หมวด 1บททั่วไป12 มาตราม.7-18
หมวด 2การดำเนินการ23 มาตราม.19-41
หมวด 3การประกันคุณภาพ5 มาตราม.42-46
หมวด 4การบัญชี และการตรวจสอบ6 มาตราม.47-52
หมวด 5การกำกับ และการดูแล2 มาตราม.52-54
หมวด 6ตำแหน่งทางวิชาการ5 มาตราม.55-59
หมวด 7ปริญญา และเครื่องหมายวิทยฐานะ9 มาตราม.60-68
หมวด 8บทกำหนดโทษ2 มาตราม.69-70
บทเฉพาะกาล16 มาตราม.71-86

สรุปสาระสำคัญพระราชบัญญัติฯ

  • ให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีฐานะเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ
  • ไม่เป็นส่วนราชการ แต่เป็นหน่วยงานในกำกับของรัฐ (มาตรา 5)
  • รับงบประมาณแผ่นดิน แต่มีอิสระ และความคล่องตัวในการบริหารจัดการมากขึ้น โดยเฉพาะการบริหารงานบุคคล การเงิน การคลัง การพัสดุ และการจัดโครงสร้างองค์กร ตามข้อบังคับ ระเบียบ ประกาศ ที่สภามหาวิทยาลัยกำหนด ภายใต้กรอบกฎเกณฑ์ของรัฐและหลักธรรมาภิบาล มีความโปร่งใส ตรวจสอบได้
  • ด้านวิชาการยังต้องอิงกฎเกณฑ์ของ ก.ก.อ. (หลักสูตร) และ ก.พ.อ.(ตำแหน่งทางวิชาการ)
  • ต้องรายงานผลการดำเนินงานต่อรัฐมนตรี และมีการตรวจสอบจากหน่วยงานภายนอก
  • กิจการของมหาวิทยาลัยไม่อยู่ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานและกฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์
  • พนักงานมหาวิทยาลัยต้องได้รับการคุ้มครองและประโยชน์ตอบแทนไม่น้อยกว่าที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน

เอกสารดาวน์โหลด